ในกระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพ ต้องทำการวิเคราะห์ธาตุหลายชนิด ซึ่งเทคนิคการวิเคราะห์ ICP, AAS, ICP-MS, ICP-OES และ XRF เป็นเทคนิคที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยแต่ละเทคนิคจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับความสะดวกและความต้องการของผู้ทำการวิเคราะห์ เทคนิคการวิเคราะห์ XRF เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีความเข้มข้นมากกว่า 1 ppm (ug/g) หรือการวิเคราะห์ที่ไม่ทำลายตัวอย่าง โดยเฉพาะการวิเคราะห์ของแข็ง, ผง, โคลน, แผ่นกรองหรือน้ำมัน
จุดเด่นของเทคนิคการวิเคราะห์ XRF ที่แตกต่างจากเทคนิคการวิเคราะห์ AAS และ ICP คือ ไม่จำเป็นต้องมีการเจือจางหรือย่อยตัวอย่าง เทคนิคการวิเคราะห์ XRF เป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง ทำให้ไม่มีความผิดพลาดจากการเตรียมตัวอย่างที่สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มค่าความถูกต้องและความเสถียรของผลการวิเคราะห์
จุดเด่นหลักๆ ของเทคนิคการวิเคราะห์ XRF
เทคนิคการวิเคราะห์ XRF สามารถทำการวิเคราะห์ตัวอย่างไม่ว่าจะเป็นของแข็ง (หรือของเหลว) โดยไม่ต้องเตรียมตัวอย่างหรือเตรียมเพียงเล็กน้อย โดยไม่ต้องมีการเจือจางหรือทำลายตัวอย่าง ดังนั้นจึงไม่มีของเสียหรือสารเคมีในการทำงาน ดังเช่นวิธีการวิเคราะห์ทางเคมีทั่วไป ซึ่งอาจพบการปนเปื้อนระหว่างการใส่ตัวอย่างที่ได้จากการเตรียมลงในเครื่องมือวิเคราะห์
เทคนิคการวิเคราะห์ XRF จะใช้ตัวอย่างที่มีปริมาณมาก (ประมาณ 100 มิลลิกรัม จนถึง 10 กรัม) ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์ประกอบทางเคมีทั้งหมดในตัวอย่างนั้น การใช้ตัวอย่างที่มีปริมาณมาก จะลดปัญหาเรื่องความไม่เป็นเนื้อเดียวกันในตัวอย่าง และมีค่าความผืดพลาดจากการปนเปื้อนน้อย
หลักการของเครื่องเอกซเรย์ XRF แบบตั้งโต๊ะ คือ ตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์จะถูกกระตุ้นด้วยรังสีเอกซ์จากหลอดเอกซเรย์ และปล่อยรังสีเอกซ์ที่เป็นค่าพลังงานของธาตุที่มีในตัวอย่างออกมา จากนั้นจะถูกตรวจจับและประมวลผลด้วยโปรแกรม ตัวอย่างที่ผ่านการวิเคราะห์จะมีสภาพภายนอกและโครงสร้างภายในเหมือนเดิม เนื่องจากพลังงานของรังสีเอกซ์ที่ใช้ต่ำและไม่มีความร้อน
ตัวอย่างที่มีรูปทรงใดๆ ที่สามารถใส่ลงในถ้วยสำหรับวิเคราะห์ สามารถทำการวิเคราะห์ได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องย่อยหรือบดตัวอย่าง ตัวอย่างที่ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค XRF สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ด้วยเทคนิคอื่นๆ ต่อไปได้อีก
โดยปกติการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเทคนิค ICP และ AAS จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการเตรียมสถานที่ใช้งาน เช่นการปรับปรุงห้องที่จะทำการวิเคราะห์, การเตรียมท่อระบายอากาศ (Fume hood), การติดตั้งท่อแก๊ส และรวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนสารเคมีและการบำบัดของเสียที่ได้จากการวิเคราะห์ เทคนิคการวิเคราะห์ XRF ไม่ต้องใช้สารเคมีหรือระบบท่อระบายอากาศ เครื่องต้องการเพียงระบบไฟฟ้าและในบางกรณีต้องใช้ก๊าซฮีเลี่ยมเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ธาตุเบาที่อยู่ในตัวอย่าง ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างหรือองค์ประกอบทางเคมีภายในตัวอย่าง
ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมัน ต้องการเพียงถ้วยสำหรับใส่ตัวอย่างซึ่งมีราคาไม่แพง, ตัวอย่างประเภทของแข็ง เช่นโลหะ สามารถทำการวิเคราะห์ได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่าง ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการวิเคราะห์
เนื่องจากเทคนิคการวิเคราะห์ XRF ไม่ต้องการระบบก๊าซ, สารเคมีหรือระบบท่อระบายอากาศ (Fume hood) ในการทำงาน ทำให้สามารถติดตั้งเครื่อง XRF ในกระบวนการผลิต เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที โปรแกรมติดตั้งและใช้งานง่าย
ด้วยเทคโนโลยีใหม่ของการวิจัยและพัฒนาล่าสุด ทำให้เครื่อง XRF มีความเสถียรสูงมาก และไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซหรือสารเคมีในการทำงาน เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการวิเคราะห์ AAS และ ICP ที่ต้องมีปัญหาเรื่องความบริสุทธิ์และความเสถียรของก๊าซ ทำให้ต้องมีการปรับเครื่องมือทุกวันเพื่อให้สอดคล้องกัน ในโปรแกรมชองเครื่อง XRF จะมีฟังก์ชั่นในการปรับ ซึ่งอาจมีการปรับอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องทำ Re-calibrate standard ทั้งหมด