การสอบเทียบ Piston Pipette และการสอบเทียบ Dispensers News

ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ห้องปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ได้ใช้งานเครื่องมือวัด วิเคราะห์ และทดสอบ เพื่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้า และบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งความมั่นใจในความถูกต้องของผลการวัดที่ได้จากเครื่องมือเหล่านั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวกับการดำเนินงานอยู่หลายประการด้วยกัน ตั้งแต่การติดตั้งเครื่อง การตรวจสอบ การใช้งาน และบำรุงรักษา รวมถึงการสอบเทียบ และการทวนสอบผลที่ได้

สำหรับสาขาการสอบเทียบล่าสุดที่ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองเพิ่มเติม คือ การสอบเทียบ Piston Pipette, Dispensers, Volumetric Flask, Volumetric Pipette, Burette, Measuring Pipette, Cylinder, Viscometer (Sine-wave), Dial Thermometer โดยครั้งนี้ขอแนะนำวิธีการสอบเทียบเครื่องวัดปริมาตร Piston Pipette และ Dispensers โดยย่อดังนี้

 

การสอบเทียบ Piston Pipette และการสอบเทียบ Dispensers        

อุปกรณ์ดูดจ่ายของเหลวตามปริมาตรที่กำหนด เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ ทดสอบ ทำงานวิจัย ในห้องปฏิบัติการอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากปริมาตรที่ดูด จ่ายมามีปริมาตรไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้จะทำให้ผลการวิเคราะห์ทดสอบ งานวิจัยนั้นๆ คลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไป ดังนั้นอุปกรณ์ดูดจ่ายของเหลวนี้ จึงควรได้รับการสอบเทียบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 รวมทั้งการทวนสอบก่อนนำมาใช้งาน เพื่อยืนยันความถูกต้องของปริมาตรที่ใช้อยู่นั้นว่าเป็นไปตามที่ผู้ผลิต หรือมาตรฐานกำหนด ซึ่งจะทำให้ผลการวิเคราะห์ทดสอบที่ได้ มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้ที่นำผลการวิเคราะห์ ทดสอบไปใช้งาน

 

1. การสอบเทียบ Piston Pipette

อุปกรณ์ดูด จ่ายของเหลวตามปริมาตรที่กำหนด (Piston Pipette) มีทั้งแบบปรับปริมาตรได้ค่าเดียว (Fixed Volume) และปรับปริมาตรได้หลายช่วงปริมาตร (Variable Volume)

ขอบข่าย

การสอบเทียบ Piston Pipette ใช้หลักการของการชั่งน้ำหนัก และแปลงค่าเป็นปริมาตร โดยใช้เทคนิค Air Displacement ตามมาตรฐาน ISO 8655-2 ทางห้องปฏิบัติการสามารถสอบเทียบได้ตั้งแต่ 0.5 µl ถึง 10000 µl

 

วิธีการสอบเทียบ

ปรับปริมาตรตามจุดที่ต้องการสอบเทียบ ดันลูกสูบให้อยู่ในตำแหน่งต่ำ จุ่มปลายปิเปตลงในของเหลว คลายให้ลูกสูบดันขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งปกติที่สูงขึ้น ของเหลวถูกดูดเข้าปลายปิเปต ปริมาตรเท่าที่ตั้งไว้ ปล่อยของเหลวโดยดันลูกสูบช้าๆ ถึงตำแหน่งที่กำหนด ลงในภาชนะเปล่าพร้อมฝาปิด นำมาชั่งน้ำหนัก แปลงค่าน้ำหนักที่ได้ให้อยู่ในหน่วยของปริมาตร ที่อุณหภูมิอ้างอิง 20 °C แล้วเปรียบเทียบกับปริมาตรที่ตั้งไว้

 

รายงานผลการสอบเทียบ

Equipment Name : Piston Pipette

Calibration Point : 0.5, 5, 10 μl

Pipette Tip : Tip : Universal, Size 0.5 μl to 10 μl, Tip Color : White, Lot no. -

Result of Calibration : based on the gravimetric determination of the quantity of water which is converted to true tat the standard temperature of 20 °C

Nominal Value (μl) Measured Volume (μl) Error (es) CV Uncertainty Coverage Factor
(μl) % (μl) % ± (μl) (k)
0.5 0.42 -0.08 -0.80 0.0200 0.2381 0.037 2.00
5 4.93 -0.07 -0.70 0.0250 0.2535 0.037 2.00
10 9.98 -0.06 -0.20 0.0290 0.2906 0.037 2.00

 

2. การสอบเทียบ Dispensers

วิธีการสอบเทียบ

อาศัยหลักการของการชั่งน้ำหนักของปริมาตรโดยการถ่ายน้ำกลั่นออกจากปลาย Dispensers ซึ่งใช้ลูกสูบในสภาวะที่ควบคุม ชั่งน้ำหนัก แปลงค่าน้ำหนักที่ได้ให้อยู่ในหน่วยของปริมาตร ที่อุณหภูมิอ้างอิง 20 °C แล้วเปรียบเทียบกับปริมาตรที่ตั้งไว้

 

รายงานผลการสอบเทียบ

Equipment Name : Dispensers

Calibration Point : 10ml

Result of Calibration : based on the gravimetric determination of the quantity of water which is converted to true at the standard temperature of 20°C

                                  : Without Adjustment 

 

Nominal Volume (ml) Measured Volume (ml) Error(es) CV Uncertainty ± (ml) Coverage factor (k)
(ml) % (ml) %
10 10.05120 0.05120 0.51 0.00042 0.00418 0.0011 2.00

 

Note : es : Systematic error

         : CV : Coefficient of variation

Measurement Uncertainty

ค่าความไม่แน่นอนของการวัดที่รายงานเป็นความไม่แน่นอนขยาย (Expended Uncertainty) ที่ได้จากผลคูณของความไม่แน่นอนมาตรฐานรวม (Combined Standard Uncertainty) กับตัวประกอบครอบคลุม (Coverage Factor: k=2) ที่ระดับความเชื่อมั่นประมาณ 95% ตามมาตรฐาน GUM (Guide to the Expression of Uncertainty in Measurement)

ติดต่อเรา

Achita Rattanapanya

Specialist, Sales Support

📧 Email: info.calibration@dksh.com

📱 Mobile: +66 89 132 9981